บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

ประโยชน์ของ “กรดฮิวมิค”

รูปภาพ
ฮิวมิค ( ความหมาย และ การจำแนก ) 1. ฮิวมัส คือ สารประกอบอะโรมาติค รวมตัวกับ กรดอะมิโน ที่ผ่านการย่อยสลายแบบสมบูรณ์แล้ว 1.1 สารประกอบฮิวมัส คือ อินทรีย์วัตถุในดินที่ฟุ้งกระจายตัวในชั้นดินมีฤทธิ์เป็นกรด 1.1.1 กรดฟูลวิค คือ สารประกอบที่มีน้ำหนักโมลิกุลต่ำ เป็นสารอินทรีย์สีน้ำตาล สกัดจาก ดิน,ถ่านหิน และ ซากพืช จนได้เป็น กรดฟูลวิค 1.1.2 กรดฮิวมิค คือ สารประกอบที่มีน้ำหนักโมลิกุลปานกลาง เป็นสารอินทรีย์สีดำได้จากการ สกัด ดิน,ถ่านหิน และ ซากพืช จนได้เป็น กรดฮิวมิค 1.1.3 ฮิวมิน คือ สารประกอบ ที่มีน้ำหนักโมลิกุลสูง เป็นอินทรีย์วัตถุที่เป็นของเหลือจากการผลิตฮิวมิค 2.โปรแตสเซียมฮิวเมท คือ สารประกอบฮิวมัส โดยมี กรดฮิวมิค เป็นองค์ประกอบ ประมาณ 80 - 90 % 3.ฮิวมิค คือ ซากพืชซากสัตว์ที่ย่อยสลายแล้วมีองค์ประกอบของคาร์บอนอยู่ ฮิวมิค (สมบัติทางกายภาพ) ฮิวมิค จะช่วยทำให้ดินให้อุ้มนํ้าและระบายอากาศได้ดี ช่วยทำให้ดินที่มีแรงยึดเหนี่ยวสูงทำให้ระบบรากของพืชที่จะดูดซึมแร่ธาตุอาหารได้ยาก ฮิวมิค จะไปทำ ลายแรงยึดเหนี่ยว ซึ่งก็จะทำ ให้ชั้นดินมีความโปร่งขึ้น ส่งผลให้นํ้าและอากาศหมุนเวียนถ่ายเทไ

เทคนิคการให้ปุ๋ยหรืออาหารพืชทางใบ

รูปภาพ
การให้ปุ๋ยหรือสารอาหารกับพืชทางใบ พืชเอาไปใช้ได้จริงหรือไม่  เร็วแค่ไหน มีคำตอบ สารอาหารสามารถเข้าสู่ใบของพืชผ่านทาง 3 ส่วนของใบดังต่อไปนี้ 1.การแพร่ของสารละลายทางคิวติเคิล  (Cuticle) 2.ดูดซึมผ่านทางปากใบ  (Stomata) 3.ดูดซึมผ่านทาง  Polar pores (Aquaporins) เทคนิคการให้ปุ๋ยหรืออาหารพืชทางใบ 1.ให้ได้เฉพาะปุ๋ยหรือสารอาหารที่สามารถให้ทางใบเท่านั้น เช่น ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเกร็ด น้ำหมักชีวภาพ กรณีปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยแข็งไม่สามารถนำมาละลายน้ำเพื่อให้ทางใบได้ 2.การแพร่ของปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงเวลาที่มีแสงแดด แต่ ควรให้ปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบในช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆ เช่น ช่วงเช้า ช่วงเย็น และ หลังฝนตก  หากเป็นช่วงที่แดดจัดมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการไหม้ของใบ ส่วนในเวลากลางคืนนั้นพืชก็สามารถดูดซึมปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบได้เพียงแต่ประสิทธิภาพจะลดลงเป็นอย่างมาก 3. การฉีดพ่นเพื่อให้ปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบควรให้สัมผัสกับทุกส่วนของพืช โดยให้ทุกส่วนเปียกชุ่มให้นานที่สุด  ควรให้น้ำกับพืชก่อนหรือหากฝนตกสามารถให้ปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบกับพืชหลังฝนตกทันทีเพื่อให้ใบนั้น

โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot Disease)

รูปภาพ
โรคข้าวและการป้องกันกำจัด 1.2)  โรคใบจุดสีน้ำตาล ( Brown Spot Disease)      พบมาก  ทั้งนาน้ำฝน และ นาชลประทาน ใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้      สาเหตุ  เชื้อรา  Bipolaris oryzae  ( Helminthosporium oryzae  Breda de Haan.) เชื้อราสาเหตุ      อาการ      แผลที่ใบข้าว พบมากในระยะแตกกอมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1-2 x 4-10 มิลลิเมตร บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก(โรคเมล็ดด่าง) บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่ายี อาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบ      การแพร่ระบาด  เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ด      การป้องกันกำจัด      1)ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และโดยเฉพาะพันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคใบสีส้ม เช่น ภาคกลางใช้พันธุ์ปทุมธานี

ฮิวมิคแอซิด สำคัญอย่างไร?

รูปภาพ
สารสกัดฮิวมิคแอซิด อินทรีย์วัตถุในดินคืออะไร ?  อินทรีย์วัตถุในดิน( Soil Organic Matter) คืออะไร ?  และ สำคัญอย่างไร ? คำว่าอินทรีย์วัตถุโดยทั่วไปหมายถึงองค์ประกอบทั้งหลายที่เป็นอินทรีย์สารในดินรวมทั้งเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย ผลผลิตบางส่วนที่ผ่านการเน่าเปื่อยแล้ว และชีวะมวลของดิน อินทรีย์วัตถุจึงประกอบด้วย 1. สิ่งที่สามารถบอกรูปพรรณสันฐานใด้ ใด้แก่วัตถุอินทรีย์ที่มีโมเลกุลสูงเช่นโปลีแซคคาไรด์ใด้แก่แป้งและโปรตีนเช่นเนื้อสัตว์หรือเนื้อพืชที่เป็นโปรตีนหลายชนิด 2.  สารที่มีสูตรโครงสร้างอย่างง่ายๆ ได้แก่ น้ำตาล กรดแอมมิโน และสารที่มีโมเลกุลเล็กอื่นๆ 3. สารฮิวมิคหลายชนิด นั่นคืออินทรีย์วัตถุในดินประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่ที่สังเคราะห์โดยจุลินทรีย์แม้ไม่ใช่ทั้งหมดก็ตาม(เพราะบางส่วนอาจเกิดเป็นสารอนินทรีย์รวมอยู่ด้วย) อินทรีย์วัตถุในดินจึงมักถูกกล่าวถึงบ่อยๆว่าประกอบด้วยสารฮิวมิค และพวกที่ไม่ใช่สารฮิวมิค พวกอินทรีย์วัตถุที่ไม่ใช่สารฮิวมิคได้แก่บรรดาวัตถุที่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบที่แยกประเภทได้ เช่นน้ำตาลกรดแอมมิโน ไขมัน และอื่นๆ อินทรีย์วัตถุ