เทคนิคการกำจัดเพลี้ยกระโดด ศัตรูตัวสำคัญของนาข้าว

เทคนิคการกำจัดเพลี้ยกระโดด ศัตรูตัวสำคัญของนาข้าว


เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงศัตรูข้าวประเภทปากดูด อยู่ในอันดับโฮม็อพเทอร่า แมลงที่อยู่ในอันดับนี้  ได้แก่ แมลงประเภทเพลี้ยต่างๆ เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น แมลงหวีขาวเพลี้ยแป้ง เป็นต้น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีความเฉพาะเจาะจงต่อพืชอาหารเพียงชนิดเดียว คือ ข้าวเท่านั้น ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำ ท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวเหนือน้ำ ต้นข้าวจะแสดงอาการใบเหลืองเหี่ยวแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียกว่า อาการฮ็อพเพอร์เบิร์น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นแมลงพาหะนำเชื้อโรคไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคใบหงิก หรือ โรคจู๋


สาเหตุของการระบาด:
1.มีการปลูกข้าวตลอดทั้งปีโดยไม่พักดิน ปัจจุบันในเขตชลประทานมีการทำนา 6-7 ครั้ง/ 2 ปี ซึ่งข้าวมีอายุประมาณ 110-120 วัน ทำให้ไม่มีการพักดิน ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีแหล่งพืชอาหารตลอดปี ทำให้เพลี้ยมีวงจรชีวิตต่อเนื่องหลายชั่วอายุในช่วงเวลาเดียวกันส่งผลให้ลูกหลานของเพลี้ยพัฒนาความต้นทานต่อสารฆ่าแมลง ทำให้การพ่นสารไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควร

2.การปลูกข้าวพันธุ์ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เพลี้ยระบาด  ดังนั้นชาวนาต้องเลือกปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานต่อการทำลายของโรคและแมลง ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาของศัตรูข้าวตั้งแต่ต้น แต่ปัญหาก็คือ ชาวนาชอบปลูกพันธุ์ข้าวที่พ่อค้าให้ราคาดี ซึ่งไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนอกจากนี้การใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ใช่พันธุ์ที่ทางราชการแนะนำอาจไม่ใช่พันธุ์บริสุทธิ์อาจมีการปลอมปนอีกประการหนึ่งก็คือ การปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เพลี้ยปรับตัวเข้าทำลายได้

3.การใช้สารเคมีบางชนิดอาจทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพิ่มขึ้นเช่นการใช้สารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์หรือกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตบางชนิดป้องกันกำจัดแมลงชนิดอื่น เช่น หนอนกอ อาจทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลซึ่งอาจมีอยู่เพียงเล็กน้อยเพิ่มการระบาดมากขึ้นได้ และอาจมีสาเหตุเกิดจากสารบางชนิดไปทำลายตัวห้ำตัวเบียนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

วิธีการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยวิธีผสมผสานดังนี้
ขั้นแรก เลือกพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง เพื่อลดโอกาสที่
เพลี้ยจะปรับตัวไม่ง่าย

ขั้นที่สอง ต้องทำการสำรวจแปลงนาทุกสัปดาห์หลังจากข้าวงอก ถ้าพบจำนวนตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ยังไม่ถึง 10 ตัวต่อกอให้ใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งในกลุ่มนิโอนิโคตินอยด์

ถ้าเริ่มพบมากกว่า 10 ตัวต่อกอ ให้ใช้สารบูโพรเฟซีน หรือสารชนิดใดชนิดหนึ่งในกลุ่มคาร์บาเมท
ดังกล่าวข้างต้น กรณีที่รุ่นแรงมากขึ้นควรใช้สารบูโพรเฟซีนผสมกับคาบาร์เมทชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยให้ใช้อัตราเดียวกับการพ่นสารเดี่ยว โดยไม่ต้องลดปริมาณเนื่องจากจะทำให้เพลี้ยรุ่นลูกหลานพัฒนาความต้านทานได้ ข้อสำคัญ คือ ไม่ควรปล่อยให้การระบาดรุนแรง เพราะการป้องกันกำจัดจะไม่ได้ผลเนื่องจากการระบาดรุนแรงจะทำให้มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทุกระยะในแปลงนาช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนทุกวัย รวมทั้งระยะตัวเต็มวัย ทำให้การใช้สารควบคุมได้เพียงระยะสั้นๆ หลังจากพ่นสาร 3 หรือ 5 วัน ก็จะพบตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกมาอีกทำให้ต้องพ่นสารบ่อยครั้ง ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้วยังเปิดโอกาสให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสร้างความต้านทานต่อสารเคมี ดังเช่นที่พบในปัจจุบัน

สำหรับระยะยาวชาวนาควรใช้ระบบการปลูกพืชเข้าช่วยด้วย โดยปลูกข้าวไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี ช่วงเวลาที่เหลืออาจเว้นการปลูกเพื่อพักดินหรือปลูกพืชตระกูลอื่นสลับ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียวข้าวโพดฝักอ่อนข้าวโพดหวานหรือพืชปรับปรุงดินเช่นถั่วพร้าหรือปอเทืองเป็นต้นแม้ว่าการปลูกพืชอื่นอาจได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าการทำนา แต่เป็นการตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลรวมทั้งศัตรูข้าวชนิดอื่นๆเช่นโรคแมลงชนิดอื่นหรือข้าววัชพืชเป็นต้นซึ่งจะส่งผลให้ในฤดูถัดไปอาจลดต้นทุนในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและลดต้นทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนได้ในกรณีการปลูกพืชตระกูลถั่วสลับทำให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของการปลูกพืชสลับจะใกล้เคียงกับการทำนาอย่างเดียวนอกจากนี้ยังเป็นการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างยั่งยืนอีกด้วย



สรุปภาพรวมในการป้องกันควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล: 
1.ตรวจสอบก่อนว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ในระยะวัยไหน หากพบว่า แมลงอยู่ในระยะตัวแก่ตั้งท้อง ลักษณะแมลงจะมีท้องป่องเหมือนผู้หญิงตั้งท้อง และแมลงจะมีปีก แนะนำให้เกษตรกรปล่อยน้ำท่วมขัง 7-8 วันถึงกาบใบข้าวเพื่อทำให้ไข่ของแมลงเน่าตาย เพราะช่วงอายุในระยะไข่ของแมลงมีเพียง 7-8 วันเท่านั้นซึ่งในระยะนี้ ควรมีการฉีดพ่นด้วยเชื้อราขาวบิวเวอร์เรียที่มีประสิทธิภาพร่วมด้วย โดยแนะนำให้ฉีดพ่นช่วงเย็นเนื่องจากไม่มีแสงแดดเป็นระยะเวลายาวนาน

2.หากพบแมลงในระยะปีกยาวและแมลงเข้าทำลายต้นข้าวจนเกิดอาการไหม้ หรือ hopper burn แล้วไม่ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีเนื่องจากแมลงที่มีปีกจะบินหนีจากแปลงที่ฉีดพ่นไปแปลงอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางมากขึ้น ในระยะนี้แนะนำให้ใช้กับดักแสงไฟที่มีเครื่องดูดแมลงช่วยในการดูดเพลี้ยไปทำลายอย่างไรก็ตามหากพบว่า การใช้กับดักแสงไฟที่มีเครื่องดูดแมลง กลับพบว่ามีแมลงที่เป็นประโยชน์ในเครื่องดูดแมลง เช่น มวนเขียวดูดไข่ มากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ก็ควรหยุดการใช้เครื่องดูดแมลง และปล่อยให้กลไกลการรักษาสมดุลตามธรรมชาติของแมลงที่เป็นประโยชน์ในแปลงนา ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเอง โดยที่ชาวนาต้องหมั่นตรวจแปลงนาว่าเพลี้ยอยู่ในวัยไหน หากพบว่าเพลี้ยอยู่ในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยที่ไม่อยู่ในระยะตั้งท้อง ควรปล่อยน้ำออกจากแปลงนาเพื่อทำให้เกิดสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของเพลี้ย

3.หากแมลงไม่อยู่ในระยะมีปีกและจำเป็นต้องใช้สารเคมี ควรฉีดพ่นสารเคมีชนิด อัตราและเวลาตามที่กรมการข้าวแนะนำและฉีดพ่นด่านล่างของใบข้าว เพราะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณโคนต้นข้าว  จึงแนะนำว่าการตัดใบข้าวไม่ช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ นอกจากนี้การพ่นสารเคมีบนบริเวณด้านบนใบข้าวที่ชาวนานิยมทำกันจะเป็นการฆ่าแมลงที่เป็นประโยชน์เช่นแมลงมุมฯลฯมกากว่าเป็นการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

.

4TREE สารเสริมประสิทธิภาพสูตรอิออน
โฟร์ทรี นวัตกรรมสารเสริมประสิทธิภาพ เพื่อพืชพรรณทุกชนิด ช่วยปรับสภาพดิน ทำให้พืชเติบโตเร็ว รากแผ่ขยายได้ไว ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พลังอิออน ของโฟร์ทรี มีประสิทธิภาพมากกว่าระดับนาโน ถึง 5 เท่า สามารถซึมผ่านใบ ลำต้น และทุกส่วนของพืชได้ในเวลาเพียงไม่ถึง 1 นาที ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลของพืช คืนสภาพความสมดุลของพืชให้กลับสู่สายพันเดิม ปัญหาแมลงและศัตรูพืชจะหมดไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นน้ำเลี้ยง ในช่วงที่สารอาหารของพืชซึมเข่าสู่ท่อลำเลียง โฟร์ทรี เป็นนวัตกรรมใหม่ สกัดจากสารอินทรีย์ธรรมชาติ ได้แก่ กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก กรดอะมิโน และ สารสกัด X-factor สุดยอดนวัตกรรมใหม่ของวงการ ลิขสิทธิ์เฉพาะของเอโฟเอส ช่วยเพิ่มแป้งและน้ำตาลให้กับพืช สร้างความพร้อมในการออกดอก ออกผล ป้องกันการหลุดร่วง ของดอกและผล เพิ่มขนาดของผลให้เติบโตจนสุดสายพันธ์ พืชพรรณของท่านจะออกดอก ออกผล เป็นเงิน เป็นทอง "โฟร์ทรี เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ ของเกษตรกร"




ข้อมูลอ้างอิง :  https://www.rakbankerd.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของ “กรดฮิวมิค”

กำจัดข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าววัชพืช